บุคลากร

บุคลากร กศน.เขตคลองสามวา


นางวันเพ็ญ  แจ่มอนงค์
ผอ.กศน.เขตคลองสามวา



นายสยาม  วงษ์พิไลวัฒน์
ครูผู้ช่วย



นางอักษราภัค  สาริกะวณิช 
ครูอาสาสมัคร




          กศน.แขวงทรายกองดิน
          กศน.เขตคลองสามวา
         
          อ.ระเบียบ  เผือกอุดม  หัวหน้า กศน.ตำบล
     
          บทบาทหน้าที่
                ภารกิจของสถานศึกษาภายใต้การควมคุมดูแลของสำนักงาน กศน.กรุงเทพมหานคร

การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 3 รูปแบบ คือ
          1. การศึกษาวิธีเรียนพบกลุ่ม เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นหลัก มีการพบกลุ่ม เพื่อนำสิ่งที่ดีไปศึกษา ค้นค้วาแล้วนำมาเสนอ อภิปราย และสรุปร่วมกันในลักษณะแลกเปลี่ยนเรียนร่วมกัน และทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต 100 ชั่วโมง ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้ระยะเวลาเรียน 2 ปี
          2. การศึกษาวิธีเรียนทางไกล เป็นวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยผ่านสื่อการศึกษาทางไกลได้แก่ชุดการเรียน ทางไกล CD,VCD รายการทางวิทยุ และโทรทัศน์ Internet เป็นต้น และทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต 100 ชั่วโมง
          3. การศึกษาตามอัธยาศัย
                จัดให้มีบริการสื่อการเรียนการสอน CD,VCD,VDO ทั้งสายสามัญ และสายอาชีพ รวมถึงสาระความบันเทิงต่าง โดยจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โครงการส่งเสริมและรักการอ่าน ส่งเสริมกิจกรรมห้องสมุดในชุมชน และจัดในชุมชน และจัดให้มีศูนย์สื่อ เพื่อการศึกษา
                ศูนย์แนะแนวการศึกษา (Adviec Conter)
                ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอนแก่นักศึกษา รวมถึงการนำไปใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำวัน และสามารถนำไปประกอบอาชีพได้
          - ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ การเรียน การสอนแก่นักศึกษา และประชาชนทั่วไป
          - ส่งเสริม ความรู้ ด้านภาษาอังกฤษ
          - ส่งเสริม ความรู้ ด้านคอมพิวเตอร์
          - อบรมให้ความรู้ ในด้านต่างๆ สำหรับนักศึกษา และประชาชนตามความสนใจ
การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
          โดยจัดส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาอาชีพ เพื่อการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และทักษะในการประกอบอาชีพบางบุคคล และกลุ่มบุคคลเป็นการแก้ปัญหา การว่างงาน และส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจชุมชน
การจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาอาชีพมี 3 ประเภท คือ
1.   การศึกษาทักษะอาชีพ โดยจัดการศึกษาด้านอาชีพ หลักสูตรระยะสั้น เพื่อสนองความต้องการของผู้เรียน ให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานในการอาชีพ
2. กลุ่มพัฒนาอาชีพ เป็นการส่งเสริมความรู้ และประสบการณ์แก่กลุ่มที่มีอาชีพประเภทเดียวกัน ให้สามารถพัฒนาปริมาณ และคุณภาพผลผลิตเข้าสู่การจำหน่ายมีรายได้ยิ่งขึ้น เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ โดยกระบวนการกลุ่ม
3. การพัฒนาอาชีพด้วยเทคโนโลยี เป็นการให้ความรู้ แก่กลุ่มเป้าหมายนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาอาชีพ และศักยภาพแก้ตนเองและกลุ่ม
          การจัดการศึกษาอาชีพทั้ง 3 ประเภท เป็นกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องทั้งการเรียนรู้ และการประกอบอาชีพ มิได้แยกจากกัน โดยเด็ดขาด เช่นเมื่อเรียนพัฒนาอาชีพ อาจจะต้องการความรู้ ทักษะอาชีพบางอย่าง ที่มีเสริมให้อาชีพที่ดำเนินการอย่างมีคุณค่ามากขึ้น
การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
          โดยจัดส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาในรูปแบบต่างๆ ที่มีสาระสอดคล้องกับบริบทของสังคมประเทศ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานของบุคคล ให้สมารถดำรวชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยเน้นทักษะชีวิตพื้นฐานที่จำเป็น 4 ด้าน คือ
             1. ด้านสุขภาพ อนามัย และการป้องกันโรคภัย ฯลฯ
             2. ด้านความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน การบรรเทา และป้องกันสาธารณภัย และการรักษาความสงบเรียบร้อย ในชุมชน การจราจร ฯลฯ
             3. ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ ทำนุบำรุง ฯลฯ
             4. ด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
             ในการจัดกิจกรรม ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ให้กลุ่มเป้าหมายให้ฝึกหัด วิเคราะห์ ปฏิบัติ และการแก้ปัญหา เพื่อให้สามารถพัฒนาทักษะชีวิตของตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม โดยจัดในรูปแบบกลุ่มสนใจ เข้าค่าย การอบรมประชาชน การจัดกิจกรรมชุมชน และการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคม และชุมชน
            ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม โดยใช่ชุมชนเป็นฐาน โดยใช้ประชาชน ชุมชนร่วมกันรับผิดชอบและเห็นถึงความสำคัญ ในการฟื้นฟูพัฒนาสังคม และชุมชนของตนเอง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ บูรณาการความรู้ ประสบการณ์ และทักษะอาชีพ เข้ามาใช้ให้เกิดประดยชน์ต่อการพัฒนาสังคม และชุมชนโดยรวม ทำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ นำไปสู่สังคมที่เข็มแข็ง มีความเอื้ออาธรต่อกัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยิ่งขึ้น

กิจกรรมพัฒนาสังคมและชุมชน มี 5 ด้าน คือ

           1. ด้านเศรษฐกิจ         - กิจกรรมเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
           2. ด้านการเมือง          - กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย
           3. ด้านสังคม               - กิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้
           4. ด้านสิ่งแวดล้อม      - กิจกรรมรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อม
           5. ด้านศิลปวัฒนธรรม - กิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น